วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

ปูมเจ้าเมืองถลางและเจ้าเมืองภูเก็จ

"1.ออกญาสุรินทราชา (เรอเน่ ชาร์บอนโน) พ.ศ.2224-2228
เป็นชาวฝรั่งเศส ผู้สร้างป้อมปราการด้วยไม้เนื้อแข็งรอบตัวเมืองถลาง(บ้านดอน) มีหอคอยสูงสี่ด้านและเป็นป้อมค่ายที่ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ใช้ต่อสู้พม่าจนได้รับชัยชนะใน พ.ศ. 2228 ท่าขอกลับไปอยู่สถานฑูตที่กรุงศรีอยุธยา"
"2.พระยาสุรินทราชา (ซัวร์ เดอ บิลลี่) หรือจอมสุรินทร์บ้านลิพอน พ.ศ.2228-2231
เป็นชาวฝรั่งเศสได้รับการแต่งตั้งแทนเจ้าเมืองคนก่อน พระยาสุรินทราชาท่านนี้ถูกปลดและเอาตัวไปลงโทษประหารชีวิต โทษฐานกบฏด้วยการให้ความช่วยเหลือนายพลเดซฟาสตร์ แม่ทัพฝรั่งเศสมายึดเมืองถลาง"
"3.พระยาถลางคางเซ้ง(คางเสง) พ.ศ.2231-2260
เป็นชาวจีนฮกเกี้ยน สมเด็จพระเพทราชาทรงแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าเมืองถลาง มีจวนเจ้าเมืองอยู่บริเวณวัดพระทองปัจจุบันนี้ ท่านผู้นี้มีทายาทสืบสายเจ้าเมืองนานถึง 31 ปี"
"4.จอมเฒ่า(จอมทองคำ) พ.ศ.2261-2305
เป็นชาวเมืองถลางเชื้อสายนครศรีธรรมราช ได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้านครศรีธรรมราชให้เป็นเจ้าเมืองที่บ้านดอน เป็นพี่ชายต่างมารดาของจอมร้างผ฿ครองเมืองบ้านตะเคียนและเป็นบิดาของพระยาถลางทองพูน"
"5.จอมร้าง พ.ศ.2261-2309
เป็นชาวเมืองถลางเชื้อสายนครศรีธรรมราช ได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้านครศรีธรรมราชให้เป็นเจ้าเมืองที่บ้านตะเคียน เป็นบิดาของท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร"
"6.พระยาถลางอาด(คุณอาด) พ.ศ.2309-2310
บุตรชายจอมร้าง น้องชายท้าวเทพกระษัตรี ได้รับการแต่งตั้งจากพระยานครศรีธรรมราช(หนู) ให้เป็นเจ้าเมืองถลาง ต่อมาแม่ทัพเรือไทรบุรียึดเมืองถลาง ฆ่าพระอาดเจ้าเมืองถลาง"
"7.พระยาบกบัตรชู(พระยาถลางชู) พ.ศ.2310-2314
ยกบัตรชูเป็นชาวถลางโดยกำเนิด ได้ร่วมกับท้าวเทพกระษัตรี ม้าวศรีสุนทร เป็นผู้นำชาวบ้านส้องสุมผู้คนปล้นเอาเมืองคืนจากแม่ทัพเรือไทรบุรี เจ้าพระยานครศรีธรรมราชจึงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองถลาง"
"8.เจ้าพระยาอินทวงศา อัครเสนาบดี ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองตะวันตก 8 หัวเมือง พ.ศ.2319-2327
เมื่อเมืองนครศรีธรรมราช ได้รับการยกฐานะเป็นประเทศราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าให้เจ้าพระยาอินทวงศา อัครเสนาบดี บุตรเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ ออกมาเป็นผู้สำเร็จราชการหัวเมืองตะวันตก 8 หัวเมือง ใน พ.ศ. 2327 พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ให้เกาะกุมตัวเจ้าพระยาอินทวงศา เข้ากรุงฐานกระด้างกระเดื่องต่อพระมหากษัตริย์ใหม่ ท่านจึงทำอัตนิวิบาตกรรมที่ค่ายปากพระ"
"9.พระยาพิมลอัยา(ขัน) พ.ศ.2314-2327
เดิมเป็นเจ้าเมืองพัทลุง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ให้ออกมาเป็นข้าหลวงพิเศษ ดูแลการค้าขายแร่ดีบุกที่เมืองถลาง และได้สมรสกับท้าวเทพกระษัตรี มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน คือแม่ทอง และคุรเนียม อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ.2327"
"10.เจ้าพระยาฦาราชนิกูล ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองตะวันตก 8 หัวเมือง พ.ศ.2327-2330
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ดำรงตำแหน่งพระยาธัมไตรโลก แม่ทัพฝ่ายเหนือ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าให้เป็นผู้สำเร็จราชการหัวเมืองฝ่ายตะวันตก รบแพ้พม่า หนีจากค่ายปากพระไปสงขลา พ.ศ.2330 ต้องโทษฐานฉ้อโกงเงินค่าดีบุก"
"11.พระยาทุกราช(ทองพูน) หรือพระยาถลางเจียดทอง พ.ศ.2327-2332
เป็นบุตรจอมเฒ่าบ้านดอน ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพระยาฦาราชนิกูล ในฐานะข้าหลวงใหญ่หัวเมืองฝ่ายตะวันตก ให้เป็นผู้ว่าราชการเมืองถลาง ต่อมามีราชทินนามว่าพระยาณรงค์เรืองฤทธิศรีสิทธิสงคราม อันราชทินนามเรียกเจ้าเมืองถลาง ในรุ่นต่อๆ มา"
"12.พระยาสุรินทราชา (จัน จันทโรจน์วงศ์) ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองตะวันตก 8 หัวเมือง พ.ศ.2329
หลังเสร็จศึกถลาง พ.ศ.2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดให้เจ้าพระยาสุรินทราชา(จัน จันทโรจน์วงศ์) เป็นผู้สำเร็จราชการหัวเมืองฝ่ายตะวันตก 8 หัวเมือง อัญเชิญสารตราตั้งมามอบแก่ท่านผู้หญิงจันและคุณมุก เพื่อปูนบำเหน็ดที่ทำคุณแก่แผ่นดิน"
"13.ท้าวเทพกระษัตรี(ท่านผู้หญิงจัน) พ.ศ.2329-2352
บุตรีจอมร้างบ้านเคียน สมรสกับหม่อมศรีภักดีเมื่อปี พ.ศ.2295 มีบุตรีชื่อแม่ปราง และบุตรชายชื่อคุณเทียน คุณหญิงจันเป็นผู้มีความสามารถทั้งในการปกครอง การค้า และการยุทธวิธี เป็นผู้นำชาวบ้านเมื่อยามต้องกอบกู้บ้านเมือง จนได้รับพระราชทานยศเป็นท้าวเทพกระษัตรี"
"14.ท้าวศรีสุนทร(คุณมุก) พ.ศ.2329-2352
เป็นบุตรีจอมร้างบ้านเคียน น้องสาวของท้าวเทพกระษัตรี เป็นผู้นำชาวบ้านรบเคียงบ่าเคียงใหล่พี่สาว จนได้รับพระราชทานยศเป็นท้าวศรีสุนทร"
"15.พระยาเพชรคิรีศรีพิชัยสงคราม รามคำแหง (คุณเทียน) พ.ศ.2332-2352
บุตรท้าวเทพกระษัตรีกับหม่อมศรีภักดี เป็นผู้มีความสามารถ ช่วยราชการทำสงครามด้วยความเสียสละตั้งแต่อายุยังรุ่น ได้รับยศศักดิ์เป็นเจ้าเมืองภูเก็จ ในปีพ.ศ.2319 ในปี พ.ศ.2329 ได้เลื่อนเป็นพระยาทุกราช ปลัดเมืองถลาง และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองถลาง มีราชทินนามว่าพระยาเพชรคิรีศรีพิชัยสงคราม เมื่อ ปีพ.ศ.2332 เป็นผู้สร้างเมืองถลางบางโรง ต้นตระกูลประทีป ณ ถลาง"
"16.พระยาถลางพาหะ(บุณคง) พ.ศ.2352-2370
เมื่อเมืองถลางบางโรง ถูกพม่าจุดไฟเผาเสียหมดสิ้นกลายเป็นเมืองร้าง ชาวถลางหนีไปพังงา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าให้พระยาถลางบุญคง บุตรชายของพระยาบริรักษ์ภูธร เจ้าเมืองตะกั่วทุ่งเป็นเจ้าเมืองดูแลชาวถลางที่บ้านกราภูงา"
"17.พระยาถลางเจิม(เจ๊ะมะหรือเจิม) พ.ศ.2352-2370
เป็นคนไทยเชื้อสายแขกมัทราส รับราชการในตำแหน่งหลวงล่ามภาษา ณ เมืองถลาง ได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้านครศรีธรรมราชให้เป็นเจ้าเมืองถลาง มีราชทินนามเป็นพระยาณรงค์เรืองฤทธิสงคราม มีบุตรชายชื่อแก้ว ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองภูเก็จ"
"18.พระยาถลางพาหะ (ทอง) พ.ศ.2370-2380
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดให้ย้ายเมืองถลางที่แม่น้ำกราภูงากลับมายังเกาะถลางตามเดิม โปรดให้พระยาถลางทองบุตรพระยาถลางบุญคง เป็นเจ้าเมืองที่ ""บ้านเมืองใหม่"" บริเวณตอนเหนือของเกาะถลาง มีราชทินนามว่า พระยาถลางพาหะ"
"19.พระยาถลางฤกษ์ (ฤกษ์ จันทโรจน์วงศ์) พ.ศ.2380-2390
เป็นบุตรเจ้าพระยาสุรินทราชา(จัน จันทโรจน์วงศ์) ได้รับการโปรดเกล้าให้เป็นพระยาณรงค์เรืองฤทธิประสิทธิสงคราม เจ้าเมืองถลาง เป็นผู้รื้อฟื้นตั้งเมืองถลางบางโรง ซึ่งเป็นมรดกเดิมของภริยา(คุณทุ่ม บุตรีพระยาเพชรคิรีศรีพิชัยสงคราม รามคำแหง)"
"20.พระยาถลางทับ (ทับ จันทโรจน์วงศ์) พ.ศ.2370-2382
บุตรชายพระยาถลางฤกษ์ ได้รับโปรดเกล้าให้เป็นเจ้าเมืองพระบามสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดให้ย้ายเมืองถลางที่แม่น้ำกราภูงากลับมายังเกาะถลางตามเดิม โปรดให้พระยาถลางทองบุตรพระยาถลางบุญคง เป็นเจ้าเมืองที่ ""บ้านเมืองใหม่"" บริเวณตอนเหนือของเกาะถลาง มีราชทินนามว่า พระยาถลางพาหะ"
"21.พระยาถลางคิน (คิน จันทโรจน์วงศ์) พ.ศ.2405-2422
ได้รับตำแหน่งต่อจากบิดา มีราชทินนามเดียวกัน"
"22.พระยาถลางเกต (เกต จันทโรจน์วงศ์) พ.ศ.2422-2433
ได้รับช่วงตำแหน่งเจ้าเมืองจากพระยาถลางคิน ผู้เป็นพี่ชาย มีราชทินนามเดียวกัน"
"23.พระยศภักดี (หนู ณ ถลาง) พ.ศ.2433-2437
เป็นผู้สืบตระกูลชั้นแหลนของพระยาถลางทองพูน เจ้าเมืองถลางบ้านดอน ได้รับโปรดเกล้าให้เป็นพระยาณรงค์เรืองฤทธิประสิทธสงครามและท่านได้ย้ายเมืองถลางบางโรงไปอยู่ที่บ้านดอนอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2337 เมืองถลางถูกยุบลงเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองภูเก็จ ตำแหน่งเจ้าเมืองจึงถูกยุบตามไปด้วย"
"24.พระภูเก็จโลหะเกษตรารักษ์(แก้ว รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) สมัยรัชกาลที่ 3
เป็นบุตรพระยาถลางเจิม ได้รับการโปรดเกล้าให้เป็นเจ้าเมืองภูเก็จ ตั้งสำนักว่าราชการเมืองถลางบริเวณอันเป็นแหล่งแร่ดีบุก ที่หมู่บ้านในตำบลกะทู้ (ชาวจีนเรียกว่า บ้านเก็ตโฮ่) นับเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมแก่การค้าและการตั้งเมือง กิจการเหมืองแร่เจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็ว จนต้องนำเข้าแรงงานคนจีนเข้ามาช่วยเป็นจำนวนมาก"
"25.พระภูเก็จโลหะเกษตรารักษ์(ทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) สมัยรัชกาลที่ 4
บุตรพระภูเก็จฯ(แก้ว) ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองภูเก็จสืบทอดจากบิดา ได้ทำการบุกเบิกกิจการเหมืองแร่ เป็นผลให้อาณาเขตเมืองภูเก็จขยายขึ้นตามไปด้วย จึงย้ายสถานที่ทำการของเจ้าเมืองจากบ้านกะทู้มาตั้งขึ้นที่บ้านทุ่งคาริมคลองบางใหญ่ และได้ทำการโปรดเกล้าเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นพระยาวิชิตสงคราม จางวาง(วิเศษ) เมืองภูเก็จ ในปี พ.ศ.2412"
"25.พระภูเก็จโลหะเกษตรารักษ์(ลำดวน รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) พ.ศ.2412
บุตรพระภูเก็จฯ(ทัต) เมื่อบิดาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาวิชิตสงคราม จึงทรงโปรดเกล้านายลำดวนขึ้นเป็นพระภูเก็จโลหะเกษตรารักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองภูเก็จ"

หมายเหตุ หัวเมืองฝ่ายตะวันตก 8 เมือง ได้แก่ เมืองถลางบางคลี, เมืองคุระ, เมืองคุรอด, เมืองเกาะรา, เมืองตะกั่วป่า, เมืองตะกั่วทุ่ง, เมืองพังงา และ เมืองภูเก็จ

1 ความคิดเห็น:

กฤษฎากร เชวงศักดิ์โสภาคย์ กล่าวว่า...

อยากทราบประวัติของเจ้าพระยาอินทวงษา ภาระกิจ สงครามร่วมกับพระเจ้าตาก