วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

แนวทางง่าย ๆ การเพิ่มผลผลิตยางพารา

วิธีการง่าย ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารา

1. รักษาความชื้นของหน้าดิน โดยการถางหญ้าอย่างถูกวิธีตามฤดูกาล

2. ใส่ปุ๋ยชีวภาพปีละ 2 ครั้ง (100-300 กก./ไร่/ปี)

3. รดหรือพ่นน้ำหมักฮอร์โมน เดือนละ 2 ครั้ง ในช่วงที่ดินมีความชื้น

4. ใส่ปุ๋ยเคมีโดยตรวจสอบแร่ธาตุในดินก่อน แล้วเติมแร่ธาตุที่ยังขาดอยู่เท่านั้นเพื่อลดต้นทุน

ความต้องการแร่ธาตุของต้นยางพาราหลังเปิดกรีดแล้วเป็นดังนี้ (คิดที่ยางให้ผลผลิต 300 กก./ไร่)
- N 20 กก.
- P 5 กก.
- K 25 กก.
- Mg 5 กก.
หากผลผลิตเพิ่มมากกว่านี้เช่น 600 กก./ไร่/ปี เราจะต้องเพิ่มปุ๋ยอีกเป็น 2 เท่า หรือโดยสรุปต้องใส่ปุ๋ยเคมี 4 กก./ต้น/ปี เมื่อผลผลิตที่ได้ 600 กก./ไร่/ปี จึงจะเพียงพอเพื่อชดเชยกับผลผลิตที่เราเอาออกจากต้นยาง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเราบริหารจัดการอย่างถูกวิธี อาจลดปุ๋ยลงเหลือเพียง 2 กก./ต้น เมื่อเราใส่ปุ๋ยหมัก ผสมภูไมท์ในปุ๋ยเคมีเพื่อดูดซับแร่ธาตุไว้และค่อย ๆ ปลดปล่อยอย่างช้า ๆ ใส่ปุ๋ยโดยขุดร่องแล้วฝังกลบเพื่อป้องกันการระเหยของปุ๋ย ซึ่งอาจสูญเสียได้ถึง 30 %

5. การกรีดยางต้องกรีดให้ถึงเยื่อเจริญ ซึ่งทำให้ท่อน้ำเลี้ยงขาดเสียหายไม่สามารถส่งขึ้นไปสังเคราะห์น้ำยางที่ทรงพุ่มได้ ผลผลิตลดลง ต้นแคระแกรน รักษาหน้ายางให้ปราศจากโรครา โดยใช้สารชีวภาพทาหน้ายางเดือนละ 2 ครั้ง เลื่อนหน้ายางให้ถูกแนวกล่าวคือเมื่อขึ้นหน้าใหม่ต้องเลือนถอยหลัง(ตามเข็มนาฬิกา) มิเช่นนั้นจะเป็นการตัดท่อน้ำยางก่อนถึงรอยกรีด

6. ป้องกันการขโมยน้ำยางจากบุคคลภายนอก หรือแม้แต่คนกรีดเอง

7. ทำยางแผ่นให้มีคุณภาพ หรือร่วมกับกลุ่มเกษตรกรที่มี เพื่อให้ผลผลิตมีราคาสูง จะได้ไม่เสียโอกาศ

8. การเปิดครอปแต่ละครั้ง ให้เปิดกรีดต้นฤดูฝนเมื่อดินมีความชื้นพอสมควรแล้ว และหยุดกรีดเมื่อยางเริ่มผลัดใบ มิใช่ยางผลัดใบและเริ่มแตกใบอ่อนแล้ว เพราะเมื่อยางผลัดใบแล้วก็ไม่มีใบที่จะสังเคราะห์แสง ผลผลิตที่ได้ในช่วงนี้ควรให้ต้นยางได้เก็บสะสมไว้ในลำต้นเพื่อการแตกใบใหม่เถอะ ใบใหม่ที่แตกออกมาจะได้แข็งแรงไม่เป็นโรคง่าย

9.กรีดระบบ 1 วัน เว้น 2 วัน มิเช่นนั้นอาจเจอปัญหาหน้าแห้ง ยางไม่เติบโต ต้นเล็กแคระเกร็น ยางที่อายุ 15 ปี ควรมีเส้นรอบลำต้นไม่น้อยกว่า 100 ซม.

10. เมื่อสภาพดินพร้อม ต้นยางโตได้ขนาด(เส้นรอบลำต้น 60 ซม. ขึ้นไป) ก็ใช้ฮอร์โมนแอทธิลีนเพิ่มศักยภาพการผลิต อย่ากลัวหน้าแห้ง หรือ ต้นยางตายเลย ทุกสิ้งทุกอย่างอยู่ที่การบริหารจัดการ ระบบดีแต่ใช้ผิดวิธีก็เสียหาย



มาตี่

ไม่มีความคิดเห็น: